jQuery ( expression, [context] )
expression ก็คือ selector อย่างที่ได้ทราบจาก step by step (1) นั่นเองครับ
โดย default แล้ว context จะมีค่าเป็น document หรือข้อมูลของเว็บหน้าที่บรรจุโค้ด jQuery ทั้งหน้าเลยครับ
อย่างเช่น
jQuery(”#price”).css(”color”,”red”);
หรือเขียนอีกอย่างคือ
$(”#price”).css(”color”,”red”);
เป็นการกำหนดให้ element ที่มี id เท่ากับ price เปลี่ยนเป็นสีแดง
อย่างเช่น <div id=”price”>1234</div>
จากเดิมแสดงผล 1234
จะเปลี่ยนเป็น 1234
แต่ถ้าเราเปลี่ยน context ไปจะเป็นการนำเอาข้อมูลจาก context นั้นมาใช้
อย่างเช่น
<script type=”text/javascript”>
var data=”<div><p>test</p><p id=\”abc\”>test2</p></div>”;
alert( $(”#abc”,data).text() ); //แสดง test2
</script>
===========================================
jQuery ( html )
เป็นการสร้าง html dom แบบพร้อมใช้งานทันที
$(”<p>Hello</p>”).appendTo(”body”);
เป็นการสร้าง p element ใส่ไปใน body element
ถ้าจากเดิม <body></body>
จะกลายเป็น <body><p>Hello</p></body>
อีกตัวอย่างหนึ่ง
alert( $(”<div id=’hello’ class=’m1′>test</div>”).attr(’class’) );
คำสั่งข้างบนจะแสดง m1
===========================================
jQuery ( element )
เป็น selector แบบหนึ่งคล้ายๆ กับ expression
แต่เป็นการอ้างถึง element ด้วยตัว object ของ element เอง
อย่างเช่น
$(document.form1).css(”border”,”solid blue 3px”);
$(document.getElementById(’id1′)).css(”border”,”solid blue 3px”);
เป็นการกำหนดให้ element form1 (แท็ก form) และ
element ซึ่งมี attribute id มีค่าเท่ากับ id1 มีกรอบเป็นสีน้ำเงินขนาด 3 pixel
===========================================
jQuery ( callback )
เป็นคำสั่งแบบสั้นใช้แทน jQuery( document ).ready();
ดูคำอธิบายโดยละเอียดได้ที่ http://e-working.ocs.ku.ac.th/homepage/information/wordpress/?p=109
$(function(){
alert(’คำสั่งที่ต้องการให้ทำงานเมื่อ document ถูกโหลดครบแล้ว’);
});