ความรู้เรื่อง Blog

February 28th, 2008 by cpcpyc in เรื่องทั่วไป

Blog คืออะไร

Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถแตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น WordPress, Movable Type เป็นต้น
ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq

เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจากการเขียนเป็นงานอดิเรกของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูลตั้งแต่เรื่องการเมืองไปจนกระทั่งเรื่องราวของการประชุมระดับชาติ
และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ที่สำคัญอย่างแท้จริง
สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ที่มีรูปแบบเนื้อหาเป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

Blog แตกต่างจากเว็บไซต์อย่างไร?

 ผมว่าคำถามข้อนี้ คงเป็นคำถามที่คาใจหลายคน โดยเฉพาะมือใหม่ที่เพิ่งจะรู้จักคำว่า Blog บางครั้งมือเก่า ๆ ที่เขียน Blog มาบ้างแล้ว มาได้ยินคำถามนี้ อาจจะหันกลับมาถามตัวเองด้วยก็ได้ว่า อืม ใช่! แล้ว blog มันต่างจากเว็บไซต์ยังไงบ้างล่ะ
ในเบื้องต้น Blog จะแตกต่างจากเว็บไซต์แบบ Static ตรงที่ Blog จะมีเรื่องให้น่าติดตาม ไม่ว่าจะเป็นบทความใหม่ ๆ ที่มีให้อ่านมากกว่า มีพื้นที่ให้ผู้อ่านได้โต้ตอบได้ จนกระทั่งมีผู้กล่าวไว้ว่า Blog จะมาแทนที่เว็บไซต์นิ่ง ๆ ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนโบรชัวร์ออนไลน์
สำหรับประเด็นที่ทำให้ Blog แตกต่างจากเว็บไซต์ทั่วไป มีดังนี้ครับ
มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้เขียนและผู้อ่านได้ หรือที่เราเรียกว่า Interactive นั่นเอง
บทความใน Blog จะเขียนในรูปแบบที่เป็นกันเอง และดูเหมือนการสนทนา มากกว่าในเว็บไซต์ เช่น ลองอ่านบทความนี้ดูครับ มันจะเหมือนว่าผมกำลังคุยกับคุณอยู่ ใช่ไหมครับ นี่คือที่เราเรียกว่ามีความเป็นกันเอง และดูเหมือนการสนทนากันอยู่ไงครับ
ระบบที่ใช้เขียน Blog นั้นง่าย ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเซียนคอมพิวเตอร์ ก็สามารถเขียน Blog ได้
อัพเดทได้บ่อยมาก และยิ่งอัพเดทบ่อย จะยิ่งดีต่อการมาเก็บข้อมูลของ Search Engine นะครับ นั่นจะทำให้ตำแหน่งผลการค้นหาของเราใน Search Engine นั้นสูงตามไปด้วย
Blog เป็นรูปแบบหนึ่งของการทำการตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing)

Blog Anatomy

มาดูเรื่องกายวิภาคของ Blog กันดีกว่า ว่า blog นั้นมีส่วนประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง จะได้รู้ว่าเราจะใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ของ blog นั้นได้อย่างไรบ้าง
1. ชื่อบล็อก (ฺBlog Title)
ส่วนของ Blog Title นี้ก็จะเป็นชื่อบล็อกนั้น ๆ ครับ
2. แท็กไลน์ (Subtitle หรือ Tag line)
ตรงส่วนนี้จะเป็นคำจำกัดความของเว็บ หรือสโลแกนเก๋ ๆ ที่ใช้อธิบายถึงตัวบล็อกโดยรวม โดยตัวแท็กไลน์นี้ จะมีก็ได้ หรือไม่มีก็ได้ เพราะมันไม่สำคัญเท่ากับชื่อบล็อกครับ
3. วันที่และเวลา (Date & Time Stamp)
เป็นวันที่ และบางทีอาจมีเวลากำกับอยู่ด้วย ตัววันที่และเวลานี้ จะเป็นตัวบอกว่าบทความในบล็อกนั้นเขียนขึ้นมาเมื่อไหร่ บางครั้งอาจมีวันที่ระบุอยู่ในส่วนของ comment ด้วย ซึ่งจะเป็นการบ่งบอกว่า comment นั้นเขียนเข้ามาเมื่อไหร่เช่นกัน
4. ชื่อบทความ (Entry Title)
ชื่อเรื่องของบทความที่เขียนในบล็อก
5. ตัวเนื้อหาบทความ (Entry’s Main Body)
อาจเป็นตัวหนังสือ หรืออาจเป็นรูปภาพ วีดีโอ หรืออนิเมชั่น เป็นต้น โดยส่วนประกอบเหล่านี้จะรวมเป็นส่วนเนื้อหาของบทความ
6. ชื่อผู้เขียน (Blog Author)
บางบล็อก อาจมีการระบุชื่อผู้เขียนไว้ในบล็อกด้วยครับ โดยตำแหน่งที่จะใส่ชื่อผู้เขียนนั้น สามารถไว้ที่ตำแหน่งใดก็ได้ เช่นด้านข้างของหน้าบล็อก (sidebar) หรืออยู่ในตัวบทความก็ได้
7. คอมเม้นต์ (Comment tag)
เป็นลิงค์ที่ให้ผู้อ่านคลิกไปเพื่อกรอกคอมเม้นต์ให้กับบล็อกนั้น ๆ หรืออ่านคอมเม้นต์ ที่มีคนเขียนคอมเม้นต์เข้ามา
8. ลิงค์ถาวร (Permalink)
เรียกชื่อไทยแล้วเขิ้นเขิน เราสามารถเรียกทับศัพท์ก็ได้ครับว่า เพอร์มาลิ้งค์ เจ้าลิงค์ตัวนี้คือลิงค์ที่ไปหา url ของบทความนั้น ๆ โดยตรงครับ มีประโยชน์สำหรับ blogger คนอื่น ๆ ที่อยากจะทำลิงค์หาบทความของเราโดยตรง ก็จะสามารถหา permalink ได้อย่างง่ายดายครับ โดย url ของ permalink นี้จะไม่เปลี่ยนไปตามวันและเวลาเหมือน link ของหน้าแรกของบล็อกที่บทความจะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ครับ นี่แหละครับที่เค้าเรียกว่า ลิงค์ถาวร
9. ปฎิทิน (Calendar)
บล็อกบางแห่งอาจมีปฎิทินอยู่ด้วย โดยในปฎิทินนั้นสามารถคลิกตามวันที่ เพื่ออ่านบทความของวันที่นั้น ๆ ได้สะดวกครับ
10. บทความย้อนหลัง (Archives)
บทความเก่า หรือบทความย้อนหลัง อาจมีการจัดเตรียมไว้โดยเจ้าของบล็อก โดยบล็อกแต่ละแห่งอาจจัดเรียงบทความย้อนหลัง ไม่เหมือนกัน เช่นจัดเรียงรายเดือน รายสัปดาห์ รายวัน หรือจะ list บทความทั้งหมดออกมาเลยก็ได้
11. ลิงค์ไปยังเว็บอื่น (Links)
เป็นจุดเด่นและความสนุกของบล็อกอีกอย่างหนึ่งเลยทีเดียวครับ โดยบล็อกแต่ละแห่ง อาจมีลิงค์ไปยังเว็บอื่นหลากหลายเว็บ บางครั้งเราสามารถเรียก link พวกนี้ว่า blogroll ก็ได้ครับ
12. RSS หรือ XML
ตัว RSS นี้อาจมีเตรียมไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับ Blogware หรือ Blog Host ที่เราเลือกใช้ เช่น WordPress หรือ MovableType นั้นจะมี RSS ลิงค์ไว้ให้เราโดยอัตโนมัติ โดยเจ้า RSS Feed นี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าถึงบทความของเราได้ง่ายขึ้น โดยการใช้โปรแกรมช่วยอ่าน Feed ได้ด้วย บางครั้งนักเขียน Blog คนอื่น ก็อาจใช้ RSS Feed นี้เพื่อประโยชน์ในการดึงข้อมูลไปแสดงในเว็บ หรือบล็อกของตนได้

ความหมายของคำว่า Blogosphere

โดยคำว่า Blogosphere นั้น จะเป็นคำที่แทนความหมายของคำว่า WebLogs , Community และ Social Network เข้าด้วยกัน เมื่อพูดถึงคำว่า Blogosphere นั่นย่อมหมายถึงโลกแห่งบล็อก ซึ่งโลกของบล็อกนี้จะรวมถึงเว็บบล็อกต่าง ๆ , คนเขียนบล็อก (Blogger) , ชุมชนของบล็อกต่าง ๆ และยังรวมถึงสิ่งต่าง ๆ หรือเว็บต่าง ๆ ที่พูดถึงบล็อกนั่นเอง เช่นถ้าคุณอ่านบทความนี้อยู่ คุณก็เป็นผู้อ่านคนหนึ่งที่อยู่ใน Blogosphere ไงครับ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ Blogosphere ครับ

Blogger หมายความว่าอย่างไร?


วันนี้ขอเริ่มต้นครั้งแรกในหมวด คำศัพท์ Blog นะครับ โดยหมวดนี้จะนำคำศัพท์ที่ใช้ในวงการ Blog ต่าง ๆ มาแนะนำให้ทุกท่านได้ทราบ เพราะเวลาอ่านบทความต่าง ๆ ในเว็บไซต์ keng.com หรือที่อื่น ๆ ก็จะได้เข้าใจศัพท์เฉพาะของ Blog ได้นะครับ
เริ่มกันด้วยคำว่า “Blogger” คำนี้แปลได้สองความหมายครับ
1. คำว่า Blogger หมายถึงคนเขียน Blog หรือเจ้าของ Blog นั่นเอง
2. ส่วนความหมายของคำว่า Blogger อีกอย่างหนึ่งก็คือ ระบบ update blog หรือ blog engine ที่เรียกว่า Blogger.com นั่นเอง โดย Blogger.com นั้นปัจจุบันนี้ได้ถูกซื้อไปโดย Google เรียบร้อยแล้วครับ
ความรู้เรื่อง Blog


บรรยาย “แนะนำการใช้งาน Blog ฝ่ายสารสนเทศ โดยโปรแกรม WordPress”

February 28th, 2008 by pichaya in กิจกรรมฝ่าย

วันนี้ (28 กุมภาพันธ์ 2551) เวลา 10.15-11.00 น. ได้จัดกิจกรรมของฝ่ายอีกครั้ง เป็นการบรรยายหัวข้อ “แนะนำการใช้งาน Blog ฝ่ายสารสนเทศ โดยโปรแกรม WordPress” แทนหัวข้อ “ต้นแบบเว็บสารสนเทศ มก.” เนื่องจาก ทองปาน ไปสัมมนา และ ศศิธร ลาพักผ่อน

ครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 8 คน คือ พิชญ์ (วิทยากร) ปรีชา กัลยกร วาสนา พรชัยยศ วิโรจน์ วิรัตน์ และ ธราธร  เข้าร่วมไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจำนวนเจ้าหน้าที่ฝ่ายทั้งหมด เนื่องจาก เจ้าหน้าที่หลายๆคน ติดราชการงานอื่นๆ และลาพักผ่อน

การบรรยาย มีเอกสารสไลด์ซึ่งจัดทำโดยใช้ตัวอย่างหน้าจอเว็บจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้าน ไม่ได้ใช้หน้าจอเว็บจริง Blog ของฝ่ายสารสนเทศ

เอกสารบรรยาย

หวังว่า เจ้าหน้าทีีฝ่ายทุกคน ที่เข้าร่วมกิจกรรม และไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรม จะได้ศึกษาการใช้งานจาก เอกสารบรรยาย ได้ในภายหลัง และนำไปใช้งานจริง Post กิจกรรมต่างๆ ใน Blog ฝ่ายสารสนเทศ

การใช้งาน  : ได้สร้าง username ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทุกคนแล้ว โดยทั้ง username และ password เป็นรหัสบัญชีผู้ใช้ของเครือข่ายนนทรี   ผู้ใช้สามารถ login แล้วสิ่งแรกที่ควรทำ คือ  เข้าไปเปลี่ยนรหัส password ของตนเอง ครับ


แก้ไขปัญหาหน้าต่าง warning ของโฮมเพจบัญชี 3 มิติ

February 27th, 2008 by pichaya in ระบบบัญชีสามมิติ

ปัญหา

คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วนะครับ ว่าเมื่อเปิดโฮมเพจบัญชีสามมิติขึ้นมา จะปรากฏหน้าต่างเตือนเกี่ยวกับการเปิดหน้าเพจที่ประกอบด้วยรายการแบบปลอดภัยและไม่ปลอดภัย ดังรูปต่อไปนี้

สาเหตุเกิดจากการใช้ Flash ของปฏิทินนาฬิกา ที่แสดงอยู่ในหน้าโฮมเพจแรก ดังรูป

โดยมีการเขียน code ของ codebase ให้เรียกใช้ไฟล์จาก http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab
(ชื่อ url ขึ้นต้นด้วย http:// เป็นเว็บแบบไม่ปลอดภัย)

code ดังกล่าว คือ

<object classid=”clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000″ codebase=”http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,29,0″ width=”130″ height=”140″>
<param name=”movie” value=”picture/clockcalendarwhite.swf”>
<param name=”quality” value=”high”>
<embed src=”picture/clockcalendarwhite.swf” quality=”high” pluginspage=”http://www.macromedia.com/go/getflashplayer” type=”application/x- shockwave-flash” width=”130″ height=”140″>
</embed>
</object>

การแก้ไข

ใช้ Browser เปิดชื่อเว็บนั้นโดยตรง http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab

แล้ว Save ไฟล์ นำไปวางไว้ในตำแหน่งของโฮมเพจหน้าแรก จากนั้นแก้ไข code เป็นดังนี้

<object classid=”clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000″ codebase=”swflash.cab#version=6,0,29,0″ width=”130″ height=”140″>
<param name=”movie” value=”picture/clockcalendarwhite.swf”>
<param name=”quality” value=”high”>
<embed src=”picture/clockcalendarwhite.swf” quality=”high” pluginspage=”http://www.macromedia.com/go/getflashplayer” type=”application/x- shockwave-flash” width=”130″ height=”140″>
</embed>
</object>

เมื่อแก้ไข code เรียบร้อยแล้ว ให้ save จากนั้น เปิดโฮมเพจบัญชีสามมิติใหม่ จะไม่ปรากฏหน้าต่าง warning อีกแล้ว


บรรยาย “โปรแกรม PHP กับการตรวจสอบตัวตน ด้วย LDAP”

February 26th, 2008 by pichaya in กิจกรรมฝ่าย

เช้าวันนี้ (26 ก.พ. 2551) เวลา 10.00 น. ได้จัดกิจกรรมฝ่าย คือ บรรยาย “โปรแกรม PHP กับการตรวจสอบตัวตน ด้วย LDAP” ซึ่งแต่เดิมอยากจัดเป็น workshop มากกว่า อยากให้เจ้าหน้าที่ได้ลองเขียนโปรแกรมในขณะนั้นด้วย แต่เนื่องจากติดขัดเรื่องสถานที่และเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่สะดวก จึงเปลี่ยนเป็นการบรรยายแทน

ดีใจครับ ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า มีเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่ง หรือ 9 คน (ทั้งหมดมี 18 คน) ครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการจัดครั้งที่สอง โดยครั้งแรกเป็นเรื่องการแนะนำการทดสอบโปรแกรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 11 คน ซึ่งใกล้เคียงกันกับครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 10 คน ทำให้มีกำลังใจจัดกิจกรรมในครั้งต่อๆไป

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 10 คน คือ พิชญ์ (เป็นวิทยากร) ปรีชา วาสนา พรชัยยศ วิโรจน์ ทิพย์รัตน์ วิรัตน์ ธราธร มนู และ ทองปาน

เอกสารบรรยาย | เว็บ LDAP | เว็บตัวอย่าง

วันนี้ (27 ก.พ.2551) ได้ copy ไฟล์ ldap.php และ encode.php มาไว้ในตำแหน่ง DocumentRoot ของทุกชื่อเว็บแล้วบนเซิร์ฟเวอร์จริงและพัฒนา ดังนั้นเจ้าหน้าที่สามารถนำไปเขียนใช้งานได้ โดยเพิ่มบรรทัด include ‘/ldap.php’; และ include ‘/encode.php’; ไว้ในไฟล์ php ของโปรแกรมที่ขึ้นมาใช้งาน


Hello world!

February 22nd, 2008 by admin in เรื่องทั่วไป

Welcome to WordPress. This is your first post. Edit or delete it, then start blogging!