เรื่องทั่วไป Category

6 ภาษาสคริปต์หน้าใหม่ที่น่าจับตามอง

January 19th, 2009 by cpcpyc in งานพัฒนาและบำรุงรักษาฯ, เรื่องทั่วไป

CIO.com ลงบทความแนะนำภาษาสคริปต์รุ่นใหม่ๆ ที่อาจจะมาแรง และองค์กรควรจับตาดูไว้เผื่อจะได้ใช้ในอนาคต

  • Scala - เจาะกลุ่มโปรแกรมเมอร์จาวาเดิม อ้างว่าแก้ปัญหา (เชิงภาษา) ของจาวาไปเกือบหมด
  • Groovy - เกิดขึ้นเพราะเราอีดอัดกับข้อจำกัดของจาวา หลังจากที่คุณได้ลองเขียน Python, Smalltalk หรือ Ruby แล้ว คุณจะพบว่ามีฟีเจอร์หลายอย่างที่เราอยากให้มีในจาวาด้วย
  • Clojure - เหมือนกับ 2 ภาษาแรกคือแปลงโค้ดเป็น byte code ก่อนเรียกใช้ แต่เน้นการใช้งานด้านมัลติคอร์และประมวลผลแบบขนานเป็นพิเศษ
  • Lua - เป็นภาษาขนาดเล็กมากๆ นิยมใช้ร่วมกับภาษาอื่น แพร่หลายในวงการพัฒนาเกม โฆษณาว่าเหมาะสำหรับการพัฒนาแบบ Agile
  • F# - เป็นโครงการวิจัยภายในของไมโครซอฟท์ ที่สร้างภาษาสคริปต์ขึ้นมาสำหรับแพลตฟอร์ม .NET
  • Boo - ภาษาที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก Python แต่ตอนใช้จะคอมไพล์เป็น CLI

นอกจาก 6 ภาษานี้ในบทความยังเอ่ยถึง Factor กับ REBOL และภาษาเก่าแก่อย่าง Lisp ก็ไม่เว้น

ที่มา - CIO.com ผ่าน OSNews


แนวโน้มในอนาคตของภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก

January 16th, 2009 by cpcpyc in งานพัฒนาและบำรุงรักษาฯ, เรื่องทั่วไป

InfoWorld มีสกู๊ปเกี่ยวกับอนาคตของภาษาโปรแกรมแบบไดนามิก ว่าจะไปในทิศทางใด จำนวน 10 ข้อ

  1. ภาษาจะมีลักษณะคล้ายกันมากขึ้น เพราะหยิบยืมฟีเจอร์ของภาษาอื่นๆ มาใช้
  2. เฟรมเวิร์คมีความสำคัญมากขึ้น ปัจจัยในการเลือกไม่ได้มีแต่ภาษาอย่างเดียวอีกต่อไป แต่มีเรื่องเฟรมเวิร์คเข้ามาเพิ่มด้วย
  3. เริ่มมีการระบุความเชี่ยวชาญเป็นชื่อแอพพลิเคชัน (เช่น WordPress, Drupal, Facebook) มากขึ้น แทนที่จะเป็นตัวภาษา แต่ถ้ามันเฉพาะทางเกินไป อาจอยู่ไม่ยืด
  4. ชุมชนผู้ใช้ภาษาโปรแกรมจะมีอิทธิพลเพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อ iPhone SDK เปิดตัว ก็มีคนสนใจ Cocoa/Obj-C เพิ่มขึ้นมาก
  5. เว็บแอพพลิเคชันและ cloud จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาษาไดนามิกรุ่ง เอาง่ายๆ ดู AppEngine/Python
  6. ประสิทธิภาพจะเป็นตัวเปลี่ยนเกม - สงครามเอนจินจาวาสคริปต์ระหว่าง TraceMonkey, V8, SquirrelFish Extreme จะทำให้ประสิทธิภาพของจาวาสคริปต์เพิ่มจนเราอาจเอา Perl ไปรันได้ (Larry Wall เขาว่าไว้)
  7. โปรแกรมมิ่งจะเปลี่ยนจากเดิมที่อิงคอมมานด์ไลน์ มาเป็นเว็บอย่างเดียวมากขึ้น เช่น การใส่ code snippet ส่วนเล็กๆ ลงใน WordPress หรือ Drupal
  8. การคอมไพล์ข้ามแพลตฟอร์ม เช่น Python เป็นไบต์โค้ดหรือ CLR และ GWT แปลงจาวาเป็นจาวาสคริปต์ จะช่วยขยายพรมแดนของภาษาไดนามิกออกไป
  9. ให้จับตาดูเครื่องมือโปรแกรมมิ่งแบบลากแล้ววาง อย่างเช่น Coghead หรือ Microsoft Popfly
  10. ตัวภาษาและแพลตฟอร์มต้องพัฒนาตัวเอง ให้รองรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบใหม่ๆ เช่น มัลติเธร็ด

ที่มา - InfoWorld


รัฐบาลเวียดนามออกคำสั่ง หน่วยงานต้องใช้ Linux ทั้งหมด!

January 9th, 2009 by cpcpyc in เรื่องทั่วไป

กระทรวงการสื่อสารและข้อมูลของเวียดนามได้ออกมา ประกาศ “คำสั่ง” ภายในใหม่ (Administrative Ruling ไม่ใช่กฏหมาย นโยบายหรือการขอความร่วมมือ แต่เป็นคำสั่ง) ที่ต้องการเพิ่มการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สภายในประเทศในหน่วยงานของ รัฐบาลทั้งหมด

โดยจากคำสั่งนี้ เซิร์ฟเวอร์ของรัฐบาลทั้งหมดจะต้องรันบนลินุกซ์เท่านั้น ภายในวันที่ 30 มิถุนายนปีนี้ และหน่วยงาน 70% ของรัฐบาลจะต้องใช้งาน OpenOffice.org, Mozilla Firefox, Mozilla Thunderbird ภายในสิ้นปีนี้

เมืองไทย ประกาศนโยบายและการรณรงค์มากี่ครั้ง? และตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว?

ที่มา - Slashdot


Adobe เปิดตัว Creative Suite 4

September 25th, 2008 by cpcpyc in เรื่องทั่วไป

Adobe เผยรายละเอียดของชุดโปรแกรม Creative Suite เวอร์ชัน 4 โดยมีโปรแกรมย่อยทั้งหมด 13 ตัว (ถ้านับรวม Photoshop CS4 Extended ก็จะเป็น 14) และโปรแกรมเสริมการทำงานในชุดอีกจำนวนหนึ่ง สำหรับการจัดชุดมีทั้งหมด 6 แบบพร้อมราคาดังนี้

  • Design Premium $1,799
  • Design Standard $1,399
  • Web Premium $1,699
  • Web Standard $999
  • Production Premium $1,699
  • Master Collection $2,499 (ชุดใหญ่สุดมีครบ)

ส่วนโปรแกรมย่อยแต่ละตัวก็สามารถแยกซื้อเฉพาะโปรแกรมได้โดยมีราคาแตกต่างกันไป ตารางเปรียบเทียบดูได้จากหน้า Compare Adobe Creative Suite 4 editions กำหนดวางจำหน่ายเดือนตุลาคมนี้

ฟีเจอร์ใหม่แบบรวมๆ คือสนับสนุน Flex 4, ปรับ UI ใหม่ให้ดูเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, สนับสนุนสเปกกราฟฟิก FXG (อ่าน อนาคตของ Flash 10, Flex 4 และ Adobe Thermo), ใช้ GPU ช่วยประมวลผล (อ่าน Photoshop CS4 จะใช้ GPU ช่วยประมวลผล), มีรุ่น 64 บิตสำหรับวินโดวส์ (อ่าน Photoshop CS4 จะมีเวอร์ชัน 64 บิตเฉพาะบนวินโดวส์)

ที่มา - Adobe, InsideRIA, CNET


รวมรีวิว-ความเห็นต่อ Google Chrome จากต่างประเทศ

September 4th, 2008 by cpcpyc in เรื่องทั่วไป
  • เริ่มจาก Walt Mossberg แห่ง WSJ เจ้าเก่า เขาบอกว่า ได้ลองใช้ Chrome มาก่อนหน้านี้หนึ่งสัปดาห์แล้ว (เป็นคนดังมันดีแบบนี้นี่เอง) ทดสอบพบว่า ยังช้ากว่า Firefox และ Safari (ตัวเลขมีในลิงก์) แต่เร็วกว่า IE8 Beta 2 ส่วนในแง่ของฟีเจอร์ Chrome กับ IE8 ดีกว่า Safari ที่เหลือมีการเปรียบเทียบฟีเจอร์กับ IE8 อีกประมาณหนึ่ง - AllThingsD
  • New York Times ยืนยันผลทดสอบของ Mossberg ว่าเร็วกว่า IE แต่ช้ากว่า Safari/Firefox
  • ผลการทดสอบด้านจาวาสคริปต์โดย Robert Accettura Safari 3.1 ยังเร็วที่สุด
  • แต่ CNET บอกว่า Chrome มาเป็นอันดับหนึ่ง (ใช้ชุดทดสอบของกูเกิล)
  • เปิดให้ดาวน์โหลด 1 วัน บริการเก็บสถิติ GetClick พบว่ามีคนใช้ Chrome 2% แล้ว - TechCrunch
  • Wired มีสัมภาษณ์วิศวกร 4 คนของโครงการนี้ รวมถึงสัมภาษณ์ Eric Schmidt ซีอีโอของกูเกิล ว่าทำไมถึงทำเบราว์เซอร์ด้วย
  • The Chromium Blog อย่างเป็นทางการ เปิดแล้ว
  • รีวิวจาก Ars Technica พูดถึงประเด็นด้าน UI เป็นหลัก มีประเด็นเรื่องไม่สนับสนุน RSS และอนาคตว่ากูเกิลจะผนวก Chrome ไปกับพีซีได้อย่างไร
  • หรือนี่คือที่มาของโลโก้ Chrome (ผมเห็นโลโก้แล้วนึกถึงลูกบอลใน Pokemon กับ Guyver Unit)
  • Chrome ส่งข้อมูลอะไรของเรากลับไปยังกูเกิลบ้าง สำหรับคนสนใจเรื่องความเป็นส่วนตัว - Matt Cutts
  • Matt Cutts ยังมี FAQ ตอบข้อกล่าวหาผิดๆ เกี่ยวกับ Chrome เช่น บังคับใช้กูเกิลหรือเปล่า กูเกิลมีอะไรแอบแฝงไหม
  • Google Mac Blog พูดถึงความคืบหน้าของเวอร์ชันแมคและลินุกซ์
  • ฝั่ง Mozilla ทั้งซีอีโอ John Lilly และประธาน Mitchell Baker ออกมาสยบความเคลื่อนไหวโดยบอกว่า Chrome ไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อ Firefox (แต่คนไม่เชื่อก็มาก ดูในคอมเมนต์)
  • ปิดท้ายด้วยการ์ตูน Google Chrome เวอร์ชันตัดต่อ โดย The Register

ที่มา : http://blognone.com


ประชัน text editor บนลินุกซ์ 21 ตัว

September 1st, 2008 by cpcpyc in เรื่องทั่วไป

Text editor เป็นเรื่องของศาสนาพอๆ กับเบราว์เซอร์ ระบบปฏิบัติการ และ IDE แต่ก่อนจะเลือกนับถือศาสนาสักอัน คุณรู้จักศาสนาครบกันหรือยัง?

เว็บไซต์ LinuxLinks ได้รีวิว text editor บนลินุกซ์จำนวน 21 ตัวอย่างละเอียด นอกจากจะพูดถึง text editor ทั่วๆ ไปอย่าง gedit หรือ Kate แล้ว ยังมีพวกใช้งานเฉพาะทาง อย่างเช่น เอาไว้เขียน HTML โดยเฉพาะ (เช่น Bluefish) หรือเขียน TeX/LaTex อีกด้วย

ถ้าลองนับดูแล้วยังรู้จัก text editor ไม่ถึง 21 ตัวก็แนะนำให้เข้าไปอ่านกันครับ

All Purpose
Emacs Extensible, customizable, self-documenting text editor
XEmacs Highly customizable console / graphical editor and development system
Vim Power of the editor ‘Vi’, with a more complete feature set
Console
Diakonos More powerful than nano, with Windows key bindings
jed Compact, fast and powerful
nano Clone of Pico, the editor of the Pine email client
Graphical 
Cream Modern configuration of Vim
gedit Small and lightweight text editor for the GNOME environment
Kate Multi document editor which is part of KDE
Scribes Text editor for GNOME that focuses on streamlining your workflow
TEA GTK-based with wide range of text-processing functions
HTML
Bluefish Powerful editor for writing websites, scripts and programming code
KompoZer Complete Web Authoring System
Quanta Plus Web development tool for KDE
Screem Site CReating and Editing EnvironMent
Source code
Geany Small and lightweight Integrated Development Environment (IDE)
jEdit A mature programmer’s Java based editor
SciTe SCIntilla based Text Editor
TeX/LaTex
Kile User-friendly LaTeX source editor and TeX shell and KDE
LyX Advanced open source document processor
TeXmacs WYSIWYW scientific word processor

Mozilla โชว์ TraceMonkey เอนจิน JavaScript ตัวใหม่

August 27th, 2008 by cpcpyc in เรื่องทั่วไป

นักพัฒนาหลายคนของ Mozilla โชว์ผลงาน TraceMonkey เอนจินสำหรับ JavaScript ตัวใหม่ที่พัฒนาขึ้นมาจาก SpiderMonkey ตัวเดิม (ซึ่งเป็น JavaScript ตัวแรกที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัย Netscape และใช้อยู่ใน Firefox มาถึงปัจจุบัน)

สิ่งที่พัฒนาขึ้นมาแน่คือประสิทธิภาพครับ จากกราฟที่ทาง Mozilla แสดงให้เห็น ประสิทธิภาพในการทดสอบบางอันดีกว่าเดิมถึง 37.5 เท่า (37.5x ไม่ใช่ 37.5%) อย่างไรก็ตามการทดสอบบางตัวก็ดีขึ้นเล็กน้อย แต่โดยภาพรวมแล้วดีกว่าเดิมเกือบหมด

ความเร็วที่เพิ่มขึ้นฮวบฮาบนี้เป็นผลจากเทคนิคคอมไพล์ Just-In-Time แบบใหม่ที่เรียกว่า trace trees ซึ่งพัฒนาโดยมหาวิทยาลัย UC Irvine และโค้ดบางส่วนได้มาจาก Tamarin ซึ่งเป็น virtual machine ของ ActionScript ที่ทาง Adobe เปิดซอร์สให้

TraceMonkey จะเข้ามาให้ใช้ใน Firefox 3.1 ถ้าอยากเห็นประสิทธิภาพก่อน มี screencast ให้ดู

ที่มา - Mike Shaver, Brendan Eich


ผลการเลือกตั้งนายกและกรรมการสมาคมผู้ดูแลเว็บไทยชุดใหม่

April 28th, 2008 by cpcpyc in เรื่องทั่วไป

หลังจากนายปรเมศวร์ มินศิริ นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ได้ลาออกเนื่องจากกรณี xxx.kapook.com ทำให้สมาคมผู้ดูแลเว็บไทยต้องจัดประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกนายกคนใหม่ และกรรมการบริหารชุดใหม่ ซึ่งจัดไปเมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา

ผลการเลือกตั้งคือ พ.ต.อ. ญาณพล ยั่งยืน ผู้บัญชาการสำนักคดีเทคโนโลยี และสารสนเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม หรือ DSI ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งเป็น นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ส่วนคณะกรรมการชุดใหม่ทั้ง 7 คนมีดังนี้

  1. กรกมล ศรีเอี่ยม (ภรรยา นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ http://www.tarad.com)
  2. ปกรณ์ สันติสุนทรกุล http://www.dek-d.com
  3. ณัฐวัฒน์ ปาลกะวงษ์ ณ อยุธยา http://duocore.tv เว็บมาสเตอร์ http://ch7.com
  4. ศิระ สัจจินานนท์ http://zickr.com
  5. ศิริพร สุวรรณพิทักษ์ http://www.212cafe.com ประธานชมรมเสิร์ชเอนจิ้นมาร์เก็ตติ้ง
  6. อภิศิลป์ ตรุงกานนท์ http://www.macroart.net
  7. อุดม ไพรเกษตร มหาวิทยาลัยศรีปทุม http://www.spu.ac.th

ที่มา - ประชาไท


กูเกิลเปิดตัวบริการ Cloud Computing เต็มรูปแบบในชื่อ Google App Engine

April 9th, 2008 by cpcpyc in เรื่องทั่วไป

หลังข่าวลือเรื่องการใช้บริการ BigTable ของกูเกิลไปก่อนหน้านี่ บริการใหม่ของกูเกิลก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วในชื่ อ App Engine ที่ไม่ใช่เพียงบริการฐานข้อมูล แต่เป็นบริการโฮสต์เต็มรูปแบบที่ให้บริการทั้งการรันซอฟต์แวร์และฐานข้อมูล

เช่นเดียวกับบริการ Cloud Computing แบบอื่นบริการนี้มีจุดขายที่การขยายตัวบนโครงสร้างของกูเกิลที่แทบจะไม่จำกัด โดยเบื้องต้นกูเกิลเปิดให้นักพัฒนาทุกคนสามารถสมัครเข้าไปใช้งานได้ฟรีโดยมีข้อจำกัดในระดับหนึ่ง

บริการนี้บังคับว่าซอฟต์แวร์ที่จะนำไปรันต้องเป็นภาษา Python เท่านั้น โดยกูเกิลจะเปิดให้ใช้ Python 2.5.2 พร้อมกับไลบราลีมาตรฐานบางส่วน และที่สำคัญคือบริการนี้รองรับ Django ในตัวเสร็จสรรพ

หากลองสมัครคงไม่ต้องเดาว่าโควต้าทดสอบนั้นเต็มไปก่อนหน้าแล้ว แต่ทางกูเกิลก็เตรียม SDK ไว้ให้ดาวน์โหลด โดยอ้างว่าการทำงานจะเหมือนการอัพโหลดซอฟต์แวร์ไปบน App Engine ทุกประการ

ที่มา - Campfire One


ผู้ให้กำเนิด BitTorrent ได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติจาก UN

April 2nd, 2008 by cpcpyc in เรื่องทั่วไป

นายบัน คี-มูน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม “ยูเอ็นไม่ใช่บิดา” ได้เปิดแถลงข่าว ณ ตึก ใบไม้ทาวเวอร์ ถึงกรณี UN จะมอบเหรียญรางวัล ผู้ที่ก่อให้เกิดสันติภาพแห่งโลก ให้กับนาย Bram Cohen ในฐานะเป็นผู้คิดค้นโปรโตคอล BitTorrentเลขาธิการยูเอ็นคนปัจจุบัน ได้กล่าวสรรญเสริญ โปรโตคอล BitTorrent เป็นอย่างมาก โดยกล่าวว่า “ตั้งแต่ผมเกิดมา ผมยังไม่เคยเห็นโปรโตคอลอันไหน ที่สอนให้มนุษยชาติแบ่งปันกันขนาดนี้มาก่อน เราทุกคนเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเดียวกัน แบ่งปันทุกสุขด้วยกัน ไม่ต้องแย่งทรัพยากรในการโหลดหนังสารคดีมนุษย์เพศหญิงกันอีกต่อไป Bram Cohen นับว่าเป็นผู้ที่ก่อให้เกิดสันติภาพของโลกอย่างแท้จริง”

พิธีมอบรางวัลอย่างเป็นทางการ จะทำการจัดขึ้นในวันศุกร์ที่จะถึงนี้ แต่แหล่งข่าวที่เชื่่อถือได้ของนาย Bram Cohen ได้บอกว่า ตัว Bram Cohen อาจจะไม่กล้าออกมารับรางวัลดังกล่าว เนื่องจากกลัวการลอบสังหารจากบรรดาค่ายสื่อบันเทิงต่างๆ ในฐานะที่เขามี่สวนทำให้รายได้ของบริษัทเหล่านั้นลดลง

คงต้องดูกันต่อไปว่า วันศุกร์นี้เราจได้เห็นโปรแกรมเมอร์คนแรก ที่ได้รับรางวัลใหญ่จากยูเอ็นหรือไม่ ?

ที่มา - - UN Website